วิศวกร
วิศวกรรมศาสตร์คืออะไร
วิศวกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำวิทยาการและนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ คิดค้น ออกแบบ
และประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาดัดแปลง
และปรับปรุงเพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของมนุษย์ให้ดีขึ้น การศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์
ต้องมีพื้นฐานที่ดีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นสำคัญ
และมีความถนัดเชิงวิศวกรรมเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งใช้เวลาทั้งหมดในการเรียน 5 ปี
ชั้นปีที่ 1 การเรียนการสอนจะอยู่ในหมวดวิชาพื้นฐานก่อนได้แก่ คณิตศาสตร์
(แคลคูลัส แลขาวิเคราะห์และสมการดิฟเฟอเรนเชียล )วิทยาศาสตร์ (ความร้อน แสง เสียง
แม่เหล็กไฟฟ้าและวิชาพื้นฐานในบางส่วน
ชั้นปีที่ 2 – 4 เน้นหนักในภาควิชาพื้นฐานทางวิชาวิศวกรรม และวิชาเอก ซึ่งให้ความสำคัญทั้งใน
ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
โดยเฉพะอย่างยิ่งภาคปฏิบัตินั้นต้องให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ในการประยุกต์ใช้งานและสามารถทำโครงการพิเ
ศษได้ เพื่อปลูกฝั่งให้มีวิจารณญาณของความเป็นช่างวิศวกรทุกคนควรมี สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ
ที่ต้องเผชิญได้อย่างมั่นใจอีกทั้งยังสามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ออกมาได้
ตลอดเวลาเพื่อให้มีส่วนสำคัญจะช่วยพัฒนาประเทศอีกทางหนึ่ง
ผู้เรียนสามารถศึกษาวิชาที่ตนเองชอบได้ เช่น
1. สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การออกแบบ
และสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ที่นำเอาความรู้ทางด้านระบบดิจิตอลมาประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ
และวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์
2. สาขาวิศวกรรมเคมี เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวกับการออกแบบ จัดสร้างและกระบวนการโรงงานอุตสาหกรรมเคมีต่าง ๆ
เช่น อุตสาหกรรมน้ำมัน ปิโตรเลียม พลาสติก ยาง กระดาษและสารเคมีพื้นฐานเช่น กรด ด่าง แก๊ส
โดยศึกษาหลักการกระบวนการผลิตต่าง ๆ ที่ทำหนาที่ให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงในส่วนผสม สถานะ ภาวะ
และลักษณะสมบัติของการผลิตไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการอย่างปลอดภัยและประหยัด
3. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิเคราะห์และการออกแบบชิ้นส่วน
เครื่องจักรและสิ่งประดิษฐ์ ออกแบบแปลนการติดตั้ง ควบคุมการใช้งานตรวจสอบ และบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
ระบบความเย็น ระบบปรับภาวะอากาศ และระบบประเภทท่อต่าง ๆ
4. สาขาวิศวกรรมเรือ เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิเคราะห์ การออกแบบ
รวมทั้งการผลิตและการประกอบพาหนะทางน้ำต่าง ๆ ตลอดจนออกแบบระบบต่าง ๆ ภายในตัวเรือ เช่น ท่าเรือ
อู่ต่อเรือ และวิชาชีพที่เกี่ยวกับสาขาอื่น ๆ เช่น วิศวกรรมโยธา เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหกรรม
5. สาขาวิศวกรรมยานยนต์
เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีพื้นฐานความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลมาประยุกต์ใช้ในด้านการออกแบบและด
้านการผลิต มีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตและรู้จักใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ทันสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ
6. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นวิชาที่เกี่ยวการวิเคราะห์ ออกแบบ และสร้างสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์
และระบบไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าสื่อสาร อีเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุม
โดยเน้นหนักทางด้านประสิทธิภาพในการทำงาน ความเชื่อถือได้ ความปลอดภัยและประหยัด
7. สาขาวิศวกรรมโยธาศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคของประเทศ ได้แก่
วิศวกรรมสำรวจ การสำรวจด้วยภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม วิศวกรรมโครงสร้าง
เกี่ยวกับหลักกลศาสตร์ของวัสดุและโครงสร้าง การทดสอบคุณสมบัติทาง
กล และกำลังทางวัสดุทางวิศวกรรม การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างไม้ เหล็ก
8. สาขาวิศวกรรมโลหการ เป็นศาสตร์และศิลปะในการสกัดโลหะจากสินแร่ของมันแล้วทำให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
9. สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาปรับปรุงสภาวะแวดล้อม
และสร้างที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยของมนุษย์ ในสาขานี้มี
การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช่วางแผนป้องกันและ
รณ รงค์กับมลภาวะต่าง ๆ ของสภาวะสิ่งแวดล้อม
10. สาขาวิศวกรรมสำรวจ เป็นวิชาที่เกี่ยวกับวางแผน การรังวัด การคำนวณ
และวิเคราะห์รายละเอียดของพื้นผิวโลก เพื่อนำมาใช้ในการทำแผนที่แผนผังหรือกำหนดค่าพิกัด เช่น
การออกแบบทางหลวงและเขื่อน การรังวัดที่ดิน การชลประทาน
11. สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตแร่ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติเพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศ
12. สาขาวิศวกรรมปิโตรเลียม เกี่ยวข้องกับการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียม
13. สาขาวิศวกรรมอุตสาหกรรม เกี่ยวข้องกับการวางแผนวิเคราะห์ และควบคุมระบบการผลิต
ต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม และการบริหารทางธุรกิจ โดยเน้นหนักทางด้านการบริหารอย่าง
มีประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต ศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทางการผลิตและการวาง
แผนและประสานงานระหว่างโรงงานกับฝ่ายบริหารด้วย
14. สาขาวิศวกรรมวัสดุ มุ่งเน้นเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุทั้งการใช้
งานและทางอุตสาหกรรมและควบคุมวิชาหลัก ๆ เช่นโครงสร้าง สมบัติ และกระบวนการ
15. วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน 3 สาขาซึ่งประกอบด้วย
อากาศพลศาสตร์ การขับด้านอากาศยาน ระบบควบคุมอัตโนมัติ และควบคุมการบิน
และการออกแบบโครงสร้างอากาศยาน
16. สาขาวิศวกรรมเกษตร
ศึกษาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมและสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมในการผลิตทางการเกษตร การแปรสภาพ
และการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร
ในด้านปริมาณและคุณภาพ
17. สาขาวิศวกรรมอาหาร หลักของวิศวกรรมอาหาร และการแปรสภาพผลผลิตทางการเกษตร
ให้อยู่ในรูปของอาหาร การเก็บรักษาอาหาร
การผลิตอาหารสำเร็จรูปรวมทั้งการออกแบบวิเคราะห์และทดสอบเครื่องจักรกลอาหาร
18. สาขาวิศวกรรมชลประทาน ได้แก่ หลักการชลประทาน การออกแบบชลประทานในไร่
นาชนิดต่าง ๆ เช่น การให้น้ำแบบผิวดิน แบบฉีดฝอยและแบบหยด การวางแผนและออกแบบ
การส่งน้ำ ระบบสูบน้ำ ระบบระบายน้ำ
19. สาขาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ ศึกษาเกี่ยวกับกลศาสตร์ของของไหล ชลศาสตร์อุทกวิทยา
ผิวดินและใต้ดิน วิศวกรรมทรัพยากรน้ำการควบคุมคุณภาพน้ำ
เส้นทางการศึกษา
เส้นทางวิศวกรนั้นเลือกได้ 2 ทาง
แนวทางแรก เมื่อจบชั้น ม. 3 เลือกศึกษาต่อในระดับม.4-ม.6 สายวิทยาศาสตร์ จะเลือกศึกษาต่อ
ในระดับ ปวช. ประเภทช่างอุตสาหรรม หลังจากนั้นจึงสอบเอนทรานต์ เข้าต่อในวิศวกรรมศาสตร์
แนวทางที่สอง เมื่อจบในชั้น ม. 3 เลือกศึกษาต่อในม.4-ม.6 เลือกต่อในระดับ
ปวช.หลังจากนั้นศึกษาต่อในหลักสูตร ปวส.2-3 ปี ประเภทช่างอุตสาหกรรม แล้วศึกษาต่อระดับปริญญาตรี
ต่อเนื่องทางวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันที่เปิดสอน
สถาบันศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่เปิดสอนคณะวิศวกรรม เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ม.อุบลราชธานี ม.กรุงเทพ ม.มหิดล ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.หอการค้าโลก ม.สารคราม
ม.ศรีปทุม ม.สยาม ม.รามคำแหง ลาดกระบัง วิทยาลัยเทคโนโลยีราชธานี
ลักษณะทั่วไปของอาชีพ
วิศวกร คือ ผู้นำเอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับปัญหาต่าง ๆ ในลักษณะการคิดค้น
การออกแบบ การปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพื่อส่ง
เสริมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของมนุษย์
การทำงานในวิชาชีพวิศวกรรมแยกได้ดังนี้
1. งานประเภทการสำรวจ ได้แก่ งานแขนงวิศวกรรมสำรวจ วิศวกรรมโยธาทั่วไป
2 .งานประเภทออกแบบ เป็นงานทำในสำนักงาน ถือเป็นหน่วยสมองของงานวิศวกรรมเพราะ
มีหน้าที่ ออกแบบสิ่งก่อสร้างทุกประเภท ทั้งอาคารบ้านเรือน สะพาน เขื่อนตลอดจนออก
แบบเครื่องจักรกลต่าง ๆ
3. งานประเภทควบคุมและบำรุงรักษา ควบคุมระบบการทำงานของเครื่องกลในสถานที่ต่าง ๆ
ตลอดจนการควบคุมการวางแผนปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมทุกชนิด
4. งานประเภทวิจัย เป็นงานที่ค้นหว้าแสวงหาความรู้ความก้าวหน้าใหม่ ๆ ในทางวิศวกรรม
หรือหาวิธีใหม่ ๆ
5. งานประเภทเผยแพร่ความรู้ หมายถึงการสอนของครู- อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. ควรเป็นผู้ที่มีใจรักงานช่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และถนัดในเครื่องยนต์โลก
2. ควรมีความรู้พื้นฐานที่ดีในหมวดคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์และ
การคำนวณ
3. มีการถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
4. ควรมีลักษณะเป็นผู้นำ สุขุมเยือกเย็น รอบคอบ และมีความอดทน มีเหตุผลและเชื่อมั่นในตนเอง
5. มีความสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
6. มีคุณธรรม จริยธรรม
แนวทางในการประกอบอาชีพ
1. เป็นวิศวกรรมควบคุมงานก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ทางหลวง เขื่อนต่าง ๆ
2. ทำงานด้านวิศวกรรมเกษตรทุกสาขา
3. ทำงานด้านเครื่องจักรและระบบกระแสไฟฟ้า
4. ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
5. ทำงานเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพมีอย่างแน่นอน เพราะสามารถพัฒนาตนเองในแนวทางที่ตนเอง
พึ่งพอใจ ซึ่งต่างจากบางอาชีพที่บุคคลก้าวหน้าได้เพราะมีคุณสมบัติเฉพาะในอาชีพนั้นเท่านั้น
ที่สำคัญ คือ การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ
ทำให้วิชาชีพพัฒนาออกไปอย่างไม่มีขีดจำกัด
และพัฒนาวิชาชีพที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมเช่นกัน ย่อมทำให้บุคคลในวิชาชีพนี้มีทางเลือกที่จะพัฒนาตัวเองในช่วงระยะเวลาที่
ประกอบอาชีพนี้ให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของตนเองได้สูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น